1. โรงพยาบาลศิริราช
2. บริษัท CP ALL (7-Eleven)
3. บริษัทปูซีเมนต์ไทย
โดยทำการเปรียบเทียบในประเด็นต่างๆ
➤โรงพยาบาลศิริราช
➯เป้าหมาย
ต้องการเรียนรู้วิธีการจัดการความรู้เพื่อนำไปพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กรให้เหมาะสมกับการบริหารจัดการและวัฒนธรรมองค์กรของคณะฯสามารถใช้ความรู้ในองค์กรของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนนำมาใช้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาองค์กรไปสู่ความเป็นเลิศหลังจากสิ้นสุดโครงการนำร่อง
➯การดำเนินการจัดการความรู้
ในระยะโครงการนำร่อง (พ.ศ. 2546-2547)
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลเลือกหัวข้อ “การทำ
CQI (Continuous Quality Improvement) ทางคลินิก”
มาดำเนินการจัดการความรู้ตามแนวทางโครงการ
“การจัดการความรู้ในองค์กร”
ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ(ดังภาพที่ 4.2) เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาแม้ว่าทีม
ดูแลผู้ป่วยจะมีโครงการพัฒนาคุณภาพมากมาย
แต่ความรู้เหล่านั้นจะอยู่เฉพาะในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานกลุ่มเล็กๆ
เท่านั้น ถ้ามีช่องทางหรือเวทีให้กลุ่มต่างๆ น
าองค์ความรู้มาแลกเปลี่ยนกัน ก็จะทำให้การดูแลผู้ป่วยมีการพัฒนา
อย่างรวดเร็วกว้างขวางขึ้น โดยตั้งเป้าหมาย (Desired
state) ว่า “มีระบบเครือข่ายของการถ่ายโอนความรู้ด้าน
CQI ทางคลินิก เพื่อให้มี best practice ในการดูแลผู้ป่วยของโรงพยาบาลศิริราช”
การจัดการความรู้ตามโครงการ
“การจัดการความรู้ในองค์กร” ของสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ประกอบด้วย
1. การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
วิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรเปรียบเทียบกับวัฒนธรรมการจัดการความรู้
วางแผนและจัดกิจกรรมเพื่อให้ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องให้การสนับสนุน
2. การสื่อสาร ท
าการสื่อสารเกี่ยวกับการจัดการความรู้ในองค์กร เช่น ความส าคัญ ประโยชน์ต่อองค์กรต่อบุคลากร
การมีส่วนร่วม โดยกระทำอย่างทั่วถึง ต่อเนื่อง ผ่านช่องทางหลากหลาย เช่น
สารศิริราชเสียงตามสาย บอร์ดประชาสัมพันธ์ การประชุม กิจกรรมประชาสัมพันธ์ KM
website, KM Call Center
3. กระบวนการและเครื่องมือ จัดทำฐานข้อมูล CQI
และฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญ CQI สร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนความรู้
สร้างชุมชนนักปฏิบัติ (Community of Practice – CoP) ปรับระบบสารสนเทศให้เอื้อต่อการแลกเปลี่ยนความรู้
4. การเรียนรู้ จัดอบรมทักษะพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ให้ความรู้ผ่านสื่อต่างๆ เช่น วารสารบอร์ดนิทรรศการ KM website
5. การวัดผล
วัดและประเมินการดำเนินงานโดยกำหนดตัวชี้วัดเป็นจำนวนผู้ชม KM website จำนวนผู้เข้าเสวนาใน
KM web board จำนวนผู้ขอคำปรึกษาที่ KM Call Center จำนวนข้อมูลการทำ
CQI ในเว็บไซต์
6. การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
มีการยกย่องชมเชยและให้รางวัลแก่บุคลากรที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้
เข้าร่วมกิจกรรมการจัดการความรู้ เช่น โล่ประกาศเกียรติคุณ เผยแพร่ภาพ ชื่อ
ผลงานผ่านสื่อ
ผลที่ได้จากโครงการนำร่อง คือ
1. เข้าใจเป้าหมายและกระบวนการในการทำ KM
เกิดประสบการณ์จริงในองค์กร
2. ผู้บริหารเห็นความสำคัญ
มีนโยบายสนับสนุนที่ชัดเจน บุคลากรมีความตระหนักและมีส่วนร่วมเพิ่มขึ้น
3. มีการพัฒนาระบบสารสนเทศของคณะฯ
ให้เอื้อต่อการจัดการความรู้
4. มียุทธศาสตร์และแนวทางดำเนินการ KM อย่างเป็นระบบต่อไป
5. มีฐานข้อมูลด้าน CQI ฐานข้อมูลผู้เชี่ยวชาญด้าน
CQI
6.
สามารถพัฒนาระบบในการกระตุ้นให้เกิดการรวมกลุ่มผู้ปฏิบัติงานเป็น CoP ได้เร็วขึ้น
ช่วยให้ CoP สามารถดำเนินงานของกลุ่มต่อไปได้โดยมีการสนับสนุนจากคณะฯ
และผู้บังคับบัญชาอย่างเหมาะสม
➯ปัจจัยสำเร็จ
ความสำเร็จในการจัดการความรู้ของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมาจากปัจจัยสำคัญๆ
ดังนี้
1. ได้รับการสนับสนุน จากผู้นำ/ผู้บริหาร
อย่างต่อเนื่อง
2. มีการกำหนดกลยุทธ์ & ผู้รับผิดชอบ
ที่ชัดเจน และ มีการบูรณาการของทีม QD, UM, KM, R2Rมุ่งเน้นการพัฒนาคน
3. สร้างความมีส่วนร่วมของทุกระดับ
สามารถสร้างคุณค่าแก่ทุกฝ่าย มีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบเชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญ
และระบบสนับสนุนที่ครบถ้วน สอดคล้องกับทิศทางขององค์กรและสังคมอย่างสมดุล
4. มีการประเมินผล (ภายใน - ภายนอก)
เพื่อพัฒนาต่อเนื่อง และต่อยอดสู่ความเป็นเลิศ
5. ใช้Siriraj KM strategy (Link –
Share – Learn) & Siriraj culture ขับเคลื่อน
6. ที่สำคัญคือ ชาวศิริราชมีความมุ่งมั่นในการทำดีเพื่อส่วนรวม
➤บริษัท CP ALL (7-Eleven)
➯เป้าหมาย
มีเป้าหมายที่การเพิ่มผลผลิต
โดยแทรกอยู่ในกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ Ant Mission และกิจกรรมข้อเสนอแนะ
Baby Ant ต่อมาตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนถึงปัจจุบัน
จึงปรับเป้าหมายเป็นการจัดการความรู้เพื่อนวัตกรรม เพราะนวัตกรรมทำให้องค์กรประสบความสำเร็จและเกิดความมั่นคงที่ยั่งยืน
ซึ่งนวัตกรรมของ ซีพี ออลล์ จำแนกได้เป็น 4 รูปแบบคือProcess Innovation (การสร้างสรรค์กระบวนการใหม่) ,
Product Innovation (การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่) , Service Innovation (การสร้างสรรค์บริการรูปแบบใหม่)
และ Business Model Innovation(การสร้างสรรค์ธุรกิจในรูปแบบใหม่)
➯การดำเนินการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ของ 7-Eleven เริ่มจากการพยายามหาความรู้เกี่ยวกับแนวคิด
ทฤษฏี และแนวทางปฏิบัติของการจัดการความรู้อย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง
จนกระทั่งสามารถกำหนดแนวทางการจัดการความรู้ที่เป็นรูปแบบเฉพาะของ 7-Eleven
เอง มีการสำรวจรวบรวมและประมวลความรู้ที่องค์กรมีอยู่แล้วออกมาเป็นความรู้หลักขององค์กร
แล้วจัดให้มีบรรยากาศที่บุคลากรสามารถเข้าถึงและนำความรู้นี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับงาน
ช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายด้วยดี ส่วนความรู้ที่พบว่ามีในตัวบุคคลทั้งที่เป็น Tacit
และ Explicit ก็จัดการให้มีการแลกปันผ่านกระบวนการด้านกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ
Ant Mission รวมทั้งส่งเสริมให้พนักงานทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดสร้างสรรค์
ความคิดริเริ่ม ด้วยการเสนอแนะปรับปรุงงานของตนเอง ในโครงการข้อเสนอแนะ Baby
Ant
กลุ่มคุณภาพ Ant Mission เกิดขึ้นในการดำเนินกิจกรรมเพิ่มผลผลิตของ
ซีพี ออลล์ ซึ่งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2541 เมื่อมีการริเริ่มนำการจัดการความรู้เข้ามาใช้ในองค์กรเมื่อ
พ.ศ. 2546 กิจกรรมกลุ่มคุณภาพAnt Mission จึงเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยผลักดันให้พนักงานนำองค์ความรู้ของตนมาแลกปันกันภายในทีมงานมีการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ
มาใช้ในการแก้ปัญหาและปรับปรุงงานให้ดีขึ้น มีการแลกปันองค์ความรู้ระหว่างทีมงาน Ant
Mission ในหน่วยงาน แล้วคัดเลือกผลงาน Ant
Mission จากแต่ละหน่วยงานมาประกวดกันภายในองค์กร
เพื่อให้เกิดการแลกปันความรู้ของพนักงานระหว่างหน่วยงาน รวมทั้งเพื่อคัดเลือกกลุ่ม
Ant Mission ที่มีผลงานดีเด่น เป็นตัวแทนของ 7-Eleven
เข้าประกวดในเวทีระดับประเทศ ที่ผ่านมา ผลงานของกลุ่ม Ant
Mission ดีเด่น
ได้สร้างชื่อเสียงและความภาคภูมิใจให้กับ ซีพี ออลล์ เป็นอย่างมาก ได้รับรางวัลการประกวดระดับชาติ
ได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยไปนำเสนอผลงานในเวทีระดับนานาชาติ
➯ปัจจัยสำเร็จ
1. ผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญและสนับสนุน
กำหนดนโยบายที่ชัดเจนและติดตามการดำเนินการตามนโยบาย
2. การบริหารองค์การตามหลัก TQM (Total
Quality Management) และ TQA (Thailand Quality Award)
3. มีการถ่ายทอดและสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วม
4. มีการปรับปรุงงานทุกวัน อย่างต่อเนื่อง
5.
มีค่านิยมขององค์กรที่เอื้อต่อการเพิ่มผลผลิตและการสร้างนวัตกรรม
➤บริษัทปูซีเมนต์ไทย
เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และตอบสนองความต้องการของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย
นอกจากนั้นยังมุ่งสร้างความเจริญก้าวหน้าให้กับชุมชนที่เข้าไปดำเนินงาน
และพร้อมก้าวสู่การเป็นองค์กรต้นแบบ ด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนในอาเซียน
ตลอดระยะเวลา 101 ปี เอสซีจีได้ขยายกิจการอย่างต่อเนื่องและเจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ
ปัจจุบันประกอบด้วยธุรกิจสำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่ เอสซีจี ซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง
เอสซีจี เปเปอร์และเอสซีจี เคมิคอลส์ มีบริษัทสำคัญกว่า 100 บริษัท
และพนักงานประมาณ 28,000 คน ผลิตสินค้ากว่า64,000 รายการ เพื่อจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก
โดยที่หลายบริษัทได้รับการรับรางวัลสำคัญๆ เช่น Deming Prize จากประเทศญี่ปุ่น
รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (TQA) เป็นต้น
➯การดำเนินการจัดการความรู้
เอสซีจีประกอบด้วย 3
กลุ่มธุรกิจและหน่วยงานส่วนกลาง แต่ละธุรกิจดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วย
งานของตนเองทั้งหมด ภายใต้การดูแลเชิงนโยบายของคณะทำงานด้าน KM ของเอสซีจี
ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารระดับผู้ช่วย ผู้จัดการใหญ่เป็นประธาน สมาชิกประกอบด้วย
ตัวแทนผู้ปฏิบัติงานด้าน KM ของแต่ละธุรกิจ
คณะทำงานชุดนี้มีหน้าที่กำหนดนโยบายต่างๆ ด้าน KM ของเอสซีจีและจัดกิจกรรมหลักที่ต้องการให้พนักงานเอสซีจีทุกคนมีส่วนร่วม
หน่วยงานส่วนกลางก็มีการตั้งหน่วยงานด้าน KM เพื่อดำเนินงานจัดการความรู้ของหน่วยงานส่วนกลางเอง
และเพื่อให้ความสนับสนุนแก่กลุ่มธุรกิจด้วยการดำเนินการจัดการความรู้ในหน่วยงานของแต่ละธุรกิจและหน่วยงานส่วนกลาง
มีความแตกต่างกัน ในที่นี้ได้เลือกนำเสนอแนวทางการดำเนินการจัดการความรู้ของสำนักงานการบุคคลกลาง
ซึ่งเป็นหน่วยงานส่วนกลางสำนักงานการบุคคลกลางได้ดำเนินการจัดการความรู้
โดยการแต่งตั้งคณะทำงาน บริหารการเปลี่ยนแปลงดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ
ในการจัดการความรู้ ได้แก่ บ่งชี้ความรู้ที่สำคัญ
แยกแยะเป็นความรู้ที่มีและที่ยังขาด สร้างหรือแสวงหาความรู้แล้วรวบรวม
จัดเก็บอย่างเป็นระบบใน KM Databaseแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้
เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร รวมทั้งกิจกรรมโครงการอื่นๆ
ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ ซึ่งจะกล่าวถึงบางประเด็นในรายละเอียดเพิ่มเติม
การแต่งตั้งคณะทำงาน คณะทำงานประกอบด้วย
หัวหน้าหน่วยงานในสำนักงานการบุคคลกลางทุกคน รวมกับพนักงานที่ได้รับแต่งตั้ง
โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานการบุคคลกลางเป็นหัวหน้าคณะทำงาน
ทำหน้าที่ด้านการกำหนดเป้าหมายของการจัดการความรู้วางแผนงานระยะ 1 ปีและ 2-5 ปี
แต่งตั้งผู้ที่ทำหน้าที่บันทึกความรู้ ผู้ที่ทำหน้าที่ดูแลฐานข้อมูลความรู้
ประชุมเพื่อบ่งชี้ความรู้ที่สำคัญ
ค้นหาว่าความรู้นั้นอยู่ที่ไหนหรืออยู่ที่ใครยังขาดความรู้อะไร
และจะจัดการกับความรู้ทั้งที่มีอยู่และที่ยังขาดอยู่อย่างไร
กำหนดมาตรฐานในการทำงานให้พนักงานทุกคนใช้ความรู้จากฐานข้อมูลความรู้และแบ่งปันความรู้ที่ได้จากการทำงานให้กับพนักงานอื่นๆ
ด้วย บริหารการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของพนักงาน
การบริหารการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ดังนี้
- การจัดการการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรม
- การสื่อสาร
- กระบวนการและเครื่องมือ
- การฝึกอบรมและการเรียนรู้
- การวัดผล
- การยกย่องชมเชยและให้รางวัล
การดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ ในการจัดการความรู้
- การสำรวจตัวเอง
- Knowledge Mapping
- เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Learn and Share Forum)
- Book Briefing
- ระบบให้การปรึกษา
- KM Web Portal
- ระบบและโครงการอื่นๆ
➯ปัจจัยสำเร็จ
1) การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายขององค์กร
และเป็นไปในทิศทางเดียวกับกลยุทธ์ขององค์กร
2)
วัฒนธรรมขององค์กรสนับสนุนให้เกิดการแบ่งปันความรู้ผู้บริหารเป็นตัวอย่างและให้การสนับสนุน
3) การจัดการความรู้เป็นส่วนหนึ่งของงานประจำ
ไม่ใช่ภาระงานที่เพิ่มขึ้น
4) ระบบเทคโนโลยีเป็นระบบเดียวทั้งองค์กร ทำให้สะดวกในการสืบค้นข้อมูล
5) มีระบบการให้รางวัลและการยกย่องในรูปแบบต่างๆ
ที่กระตุ้นให้คนสนใจที่จะแบ่งปันความรู้
2.การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ประโยชน์
การจัดการความรู้ควบคู่กับการบริหารการเปลี่ยนแปลง
ประกอบด้วย
1) กำหนดทิศทาง 2) สื่อสารเสริมทักษะ 3)
บริหารจัดการด้วย Link-Share –Learn (ได้แก่ ชุมชนนักปฏิบัติStory telling กิจกรรมทบทวนคุณภาพ เช่น management
review, AAR, BAR การถอดบทเรียนจัดทำเป็นเอกสาร คู่มือปฏิบัติ) 4)
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และจัดเก็บคลังความรู้ 5) การประเมินผล และ
6) ยกย่องเชิดชู
➤บริษัท CP ALL (7-Eleven)
1. ภายในองค์กร ดำเนินงานทั่วทั้งองค์กร ผ่านกิจกรรมกลุ่มคุณภาพ Ant
Mission โครงการข้อเสนอแนะ Baby Ant การประกวดนวัตกรรมแบบปิด Ant
Mission, President Award, Big Fish, ProcessExcellence Award
2. ภายนอกดำเนินงานโครงการนวัตกรรมแบบเปิด
3. Storytelling , Benchmarking , Best Practice , Lesson
Learned,AAR
➤บริษัทปูซีเมนต์ไทย
หลากหลายเน้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย-เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(Learn and Share Forum) -ระบบให้การปรึกษา –ระบบพี่เลี้ยง -AAR -KM
Web Portal