แนวคิดการจัดการความรู้
ความหมายของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการที่ช่วยรวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์และกำหนดประเด็น รวมไปถึง การเผยแพร่องค์ความรู้ที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นต่อการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าขององค์กร
พัฒนาการของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้ 3 ยุค ในช่วงเวลาประมาณ 15-20 ปี
ที่เกิดศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ อาจกล่าวได้ว่า การจัดการความรู้
ได้มีวิวัฒนาการมาเป็น 3 ยุค ได้แก่
ยุคที่ 1
อาจเรียกชื่อว่า ยุค Pre-SECI การจัดการความรู้ เน้นที่การจัดการสารสนเทศ ( Information management) เพื่อใช้ในเทคโนโลยีช่วยการตัดสินใจของคน เริ่มเมื่อประมาณ 15-20 ปีที่แล้วยุคที่ 2
อาจเรียกชื่อว่า ยุค SECI มองว่าความรู้แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
ความรู้ชัดแจ้ง ( Explicit knowledge) กับความรู้ฝังลึก
( tacit knowledge) การจัดการความรู้เน้นการเปลี่ยนความรู้ฝังลึก
เป็นความรู้ชัดแจ้ง และวนกลับหมุนเป็นเกลียวความรู้" ( Knowledge
spiral) เป็นยุคที่เชื่อมโยงการจัดการความรู้เข้ากับ การรื้อปรับ ( re-engineering) กระบวนการปฏิบัติงาน
เพื่อบรรลุประสิทธิภาพ ( efficiency) สูงสุด
ยุคที่ 3
อาจเรียกชื่อว่า ยุค Post-SECI มองว่าความรู้ไม่แบ่งขั้ว เป็นความรู้ชัดแจ้ง และความรู้ฝังลึก แต่มีคุณสมบัติทั้งสองอยู่ด้วยกัน เน้นการจัดการความรู้ เพื่อการใช้งาน เวลานั้น ( Just-in-time KM) และเน้นที่ประสิทธิผล ( effectiveness) ของงาน
หลักการ 4 ประการ ของการจัดการความรู้ หลักการสำคัญ 4 ประการ
1. ให้คนหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด ทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์
การจัดการความรู้ที่มีพลัง ต้องทำโดยคนที่มีพื้นฐานแตกต่างกัน มีความเชื่อ
หรือวิธีคิดแตกต่างกัน (แต่มีจุดรวมพลัง คือ มีเป้าหมายอยู่ที่งานด้วยกัน)
ถ้ากลุ่มที่ดำเนินการจัดการความรู้ ประกอบด้วยคนที่คิดเหมือนๆ กัน
การจัดการความรู้จะไม่มีพลัง
ในการจัดการความรู้ ความแตกต่างหลากหลาย ( heterogeneity) มีคุณค่ามากกว่าความเหมือน
( homogeneity)
2. ร่วมกันพัฒนาวิธีการทำงานในรูปแบบใหม่ๆ เพื่อบรรลุประสิทธิผลที่กำหนดไว้
หรือฝันว่าจะได้ ในการจัดการสมัยใหม่ ประสิทธิผลประกอบด้วย องค์ประกอบ 4 ประการ คือ
การตอบสนองความต้องการ ( responsiveness) ซึ่งอาจเป็นความต้องการของลูกค้า
ความต้องการของสังคม หรือความต้องการที่กำหนดโดยผู้บริหารองค์กรนวัตกรรม ( innovation) ซึ่งอาจเป็นนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
หรือวิธีการใหม่ๆ ก็ได้ขีดความสามารถ ( competency) ขององค์กร
ประสิทธิภาพ (efficiency) ในการทำงาน ทดลองและเรียนรู้
เนื่องจากกิจกรรมการจัดการความรู้ เป็นกิจกรรมสร้างสรรค์
ซึ่งหมายความว่าต้องคิดแบบ "หลุดโลก"
จังต้องมีวิธีการดึงกลับมาสู่ความเป็นจริงในโลก หรือในสังคม โดยการทดลองทำเพียงน้อยๆ
ซึ่งถ้าล้มเหลว ก็ก่อผลเสียหายไม่มากนัก ถ้าได้ผลไม่ดีก็ยกเลิกความคิดนั้น
ถ้าได้ผลดี จึงขยายการทดลองเป็นทำมากขึ้น จนในที่สุด ขยายเป็นวิธีทำงานแบบใหม่
หรือได้ best practices ใหม่นั่นเอง นำความรู้จากภายนอกอย่างเหมาะสม
โดยต้องถือว่า ความรู้จากภายนอกยังเป็นความรู้ที่ยัง "ดิบ" อยู่
ต้องเอามาทำให้ "สุก" ให้พร้อมใช้ในบริบทของเรา
โดยการเติมความรู้เชิงบริบทลงไป
3. การจัดการความรู้ กับ องค์กรเรียนรู้ การจัดการความรู้
กับ องค์กรเรียนรู้ เป็น 2 หน้าของเหรียญเดียวกัน
เกื้อกูลส่งเสริมซึ่งกันและกัน เป็นเหตุผลซึ่งกันและกัน
ผู้สนใจเรื่ององค์กรเรียนรู้ ค้นได้จาก เว็ปไซต์ ของ สคส. ( www.kmi.or.th)
4. การจัดการความรู้ เป็นทักษะ ไม่ทำ-ไม่รู้
มีคนจำนวนไม่น้อย ที่เฝ้าหาทางเรียนรู้เรื่อง การจัดการความรู้ ด้วยการอ่านหนังสือ
หรือฟัง "ผู้รู้" บรรยาย การกระทำเช่นนั้น
จะไม่มีทางช่วยให้รู้จักการจัดการความรู้ได้เลย เนื่องจากการจัดการเป็นทักษะ ( skill) ไม่ใช่ความรู้เชิงทฤษฎี
หรือกล่าวให้ชัดเจนขึ้น การจัดการความรู้มีส่วนที่เป็นทักษะสิบส่วน
และส่วนที่เป็นทฤษฎีเพียงส่วนเดียว (คล้ายพุทธศาสนา) การเรียนรู้โดยการท่องทฤษฎี
จึงแทบจะไม่มีประโยชน์ ต้องลงมือทำ จึงจะทำเป็น
และเกิดความรู้ความเข้าใจการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ มิใช่เป้าหมาย
เป้าหมายของการจัดการความรู้ คือ การทำให้ทุกคนมีความรู้
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ โดยทำให้ความรู้ของแต่ละคน กลายมาเป็นความรู้ของกลุ่ม
และมาเป็นความรู้ขององค์กร ซึ่งยิ่งใหญ่ และทรงพลังกว่าความรู้ของบุคคล
รวมทั้งเชื่อมโยงกับความรู้จากภายนอก ทำให้งานของเราดีขึ้น ผู้ป่วยของเราดีขึ้น
บ้านเมืองของเราดีขึ้นการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เพื่อพัฒนางาน และคน
เป็นเครื่องมือทำในสิ่งที่ไม่คาดคิดว่าจะทำได้ เป็นเครื่องมือใช้ความรู้ของทั้งโลก
เป็นเครื่องมือดึงศักยภาพของคน และทีมออกมาใช้ เป็นเครื่องมือเพื่อความอยู่รอด
ในสถานการณ์ที่พลิกผันพลังสร้างสรรค์ เกิดจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
หลายคนไม่คิดว่า ตัวเองจะมีศักยภาพสูงขนาดนี้ แต่กระบวนการจะช่วย ตัวช่วยมากที่สุด
คือ ความสัมพันธ์กับเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน
คนที่อยู่ในองค์กรที่มีความสัมพันธ์ภายใน ไม่ดีจะขาดทุนมาก
เพราะไม่สามารถดึงพลังในตัวเองออกมา
ประเภทของความรู้
1. Explicit Knowledge หมายถึง ความรู้แบบปรากฏเห็นชัด แจ่มแจ้ง เป็นระบบ สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นเอกสาร หนังสือ สื่อต่างๆ
2. Tacit Knowledge หมายถึง ความรู้ที่ไม่ปรากฏให้เห็นชัด
ซ่อนเร้นอยู่ภายในตัวของบุคคล ถ่ายทอดออกมายาก ความรู้อาจเกิดจากประสบการณ์
การเรียนรู้ พรสวรรค์ (Talent)
เป้าหมายของการจัดการความรู้
การจัดการความรู้
มีเป้าหมาย 3 ประการใหญ่ๆ ได้แก่
(1) เพื่อพัฒนางาน ให้มีคุณภาพ และผลสัมฤทธิ์ยิ่งขึ้น
(2) เพื่อการพัฒนาคน คือ พัฒนาผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งในที่นี้คือ พนักงานทุก ระดับ แต่ที่จะได้ประโยชน์มากที่สุด คือ พนักงานชั้นผู้น้อย
และระดับกลาง
(3) เพื่อการพัฒนา “ฐานความรู้” ขององค์กรหรือหน่วยงาน
เป็นการเพิ่มพูนทุนความรู้หรือทุนปัญญาขององค์กร ซึ่ง จะช่วยทําให้องค์กรมีศักยภาพในการฟันฝ่าความยากลำบากหรอความไม่แน่นอนในอนาคตได้ดีขึ้น
เกลียวความรู้ SECI
เกลียวความรู้ SECI ที่เสนอโดยโนนากะและทาเกอุจิ
เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการ ยกระดับความรู้
และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ โดยเริ่มจาก Socialization คือ การจัดให้คนมามีปฏิสัมพันธ์
(socialize) กันในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ฝูงลึก
(tacit knowledge) หรือประสบการณ์ ตามมาด้วย Externalization
ซึ่งเป็น กระบวนการสื่อความรู้จากประสบการณ์ในการทำงานออกมาเป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียนเท่ากับ เป็นการเปลี่ยนความรู้ฝูงลึกเป็นความรู้ชัดแจ้ง (explicit
knowledge) หรือความรู้ที่ เข้ารหัส (codified
knowledge) ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนกันได้โดยง่ายผ่าน วิธีการด้านเทคโนโลยีสื่อสารและสารสนเทศ กระบวนการผนวกรวมความรู้ชัดแจ้งเข้าด้วยกัน เรียกว่า Combination ก็จะได้ความรู้ชัดแจ้งที่กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้น
กระบวนการ สุดท้ายในวงจร SECI คือ
Internalization ซึ่งเป็นการ “จารึก” ความรู้ ชัดแจ้ง เป็นความรู้ที่ฝังลึกในสมองคนหรือฝังเข้าไปในผลิตภัณฑ์
หรือกระบวนการทำงาน ซึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ กระบวนการนี้จะไปสัมพันธ์กับลูกค้าหรือผู้ใช้ผลิตภัณฑ์
และเกิด “ข้อมูล” ความพึงพอใจหรือ ประสบการณ์การใช้ผลิตภัณฑ์หรือใช้กระบวนการทำงานนั้น
เป็นข้อมูลใหม่หรือเพิ่มเติมเข้ามาในกระบวนการจัดการความรู้ยกระดับเกลียวความรู้ขึ้นไปอีก
วงจร SECI จะดำเนินการต่อเนื่องเรื่อยไปไม่มีสิ้นสุด นอกเหนือจากเกลียว
SECI แล้ว ยังมีเกลียวความรู้ (knowledge spiral) ที่ ช่วยยกระดับ (cross-leveling) ความรู้อีกหลายแบบ
เช่น เกลียวความรู้ข้ามระดับพนักงาน ระดับล่าง พนักงานระดับกลางผู้บริหารระดับสูง,
เกลียวความรู้ข้ามระดับหน่วยงานย่อย, เกลียวความรู้ผ่านจตุรภาค
(4 quadrants) ในหัวข้อจตุรภาคแห่งการจัดการ ความรู้, และเกลียวความรู้ข้ามชั้นขององค์กรแบบ
“พหุบาท” (hypertext) ซึ่งจะไม่กล่าวถึง ณ ที่นี้
The SECI Model
1. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้
(Socialization) S : Tacit to Tacit
กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา
2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit
กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่
3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit
กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร
4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit
กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร
กระบวนการที่ 1 อธิบายความสัมพันธ์ทางสังคมในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) ด้วยกัน เป็นการแบ่งปันประสบการณ์แบบเผชิญหน้าระหว่างผู้รู้ เช่น การประชุม การระดมสมอง ที่มาจากความรู้ การเรียนรู้ และประสบการณ์ของแต่ละบุคคล เฉพาะเรื่อง เฉพาะพื้นที่ แล้วนำมาแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมเดียวกัน ที่มิใช่เป็นเพียงการอ่านหนังสือ คู่มือ หรือตำรา
2. การสกัดความรู้ออกจากตัวคน (Externalization) E : Tacit to Explicit
กระบวนการที่ 2 อธิบายความสัมพันธ์กับภายนอกในการส่งต่อระหว่างความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) กับความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อาจเป็นการนำเสนอในเวทีวิชาการ หรือบทความตีพิมพ์ เป็นการพัฒนาองค์ความรู้ที่ถูกฝังอยู่ในความรู้ฝังลึกให้สื่อสารออกไปภายนอก อาจเป็นแนวคิด แผนภาพ แผนภูมิ เอกสารที่สนับสนุนให้เกิดการสื่อสารระหว่างผู้เรียนรู้ด้วยกันที่เข้าใจได้ง่าย ซึ่งความรู้ฝังลึกจะถูกพัฒนาให้ตกผลึกและถูกกลั่นกรอง แล้วนำไปสู่การแบ่งปัน เปลี่ยนเป็นฐานความรู้ใหม่ที่ถูกนำไปใช้สร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ในกระบวนการใหม่
3. การควบรวมความรู้ (Combination) C : Explicit to Explicit
กระบวนการที่ 3 อธิบายความสัมพันธ์การรวมกันของความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) ที่ผ่านการจัดระบบ และบูรณาการความรู้ที่ต่างรูปแบบเข้าด้วยกัน เช่น นำความรู้ไปสร้างต้นแบบใหม่ ไปสร้างสรรค์งานใหม่ ได้ความรู้ใหม่ โดยความรู้ชัดแจ้งได้จากการรวบรวมความรู้ภายในหรือภายนอกองค์กร แล้วนำมารวมกัน ปรับปรุง หรือผ่านกระบวนการที่ทำให้เกิดความรู้ใหม่ แล้วความรู้ใหม่จะถูกเผยแพร่แก่สมาชิกในองค์กร
4. การผนึกฝังความรู้ (Internalization) I : Explicit to Tacit
กระบวนการที่ 4 อธิบายความสัมพันธ์ภายในที่มีการส่งต่อความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) สู่ความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) แล้วมีการนำไปใช้ในระดับบุคคล ครอบคลุมการเรียนรู้และลงมือทำ ซึ่งความรู้ชัดแจ้งถูกเปลี่ยนเป็นความรู้ฝังลึกในระดับบุคคลแล้วกลายเป็นทรัพย์สินขององค์กร
ประโยชน์ของการจัดการความรู้
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร
2. ป้องกันการสูญหายของภูมิปัญญา ในกรณีที่บุคคลากรเกษียณอายุ ลาออก
หรือเสียชีวิต
3. เพิ่มศักยภาพในการแข่งขันและความอยู่รอด
4. เป็นการลงทุนในต้นทุนมนุษย์
ในการพัฒนาความสามารถที่จะแบ่งปันความรู้ที่ได้เรียนรู้มาให้กับคนอื่นๆ ในองค์กร
และนำความรู้ไปปรับใช้กับงานที่ทำอยู่ให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น
เป็นการการพัฒนาคน และพัฒนาองค์กร
5. ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการตัดสินใจและวางแผนดำเนินงานให้รวดเร็ว
และดีขึ้น เพราะมีสารสนเทศ หรือแหล่งความรู้เฉพาะที่มีหลักการ เหตุผล
และน่าเชื่อถือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
6. ผู้บังคับบัญชาสามารถทำงานเชื่อมโยงกับผู้ใต้บังคับบัญชาให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น
ช่วยเพิ่มความกลมเกลียวในหน่วยงาน
7. เมื่อพบข้อผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน ก็สามารถหาวิธีแก้ไขได้ทันท่วงที
8. แปรรูปความรู้ให้เป็นทุน
ซึ่งเป็นการสร้างความท้าทายให้องค์กรผลิตสินค้าและบริการจากความรู้ที่มี
เพื่อเพิ่มคุณค่า และรายได้ให้กับองค์กร
9. เพื่อการสร้างสรรค์ และบรรลุเป้าหมายของจินตนาการที่ยิ่งใหญ่
10. เปลี่ยนวัฒนธรรม จาก วัฒนธรรมอำนาจในแนวดิ่ง
ไปสู่วัฒนธรรมความรู้ในแนวราบ ซึ่งทุกคนมีสิทธิในการเรียนรู้เท่าเทียมกัน