วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2562

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

แนวคิดเกี่ยวกับความรู้

ความหมายของความรู้

1)Ikujiro Nonaka (อิคูจิโร โนนากะ) คือ  

          1. Tacit Knowledge เป็นความรู้ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เกิดจากประสบการณ์ การเรียนรู้ หรือพรสวรรค์ต่างๆ ซึ่งสื่อสารหรือถ่ายทอดในรูปแบบของตัวเลข สูตร หรือลายลักษณ์อักษรได้ยาก ความรู้ชนิดนี้พัฒนาและแบ่งปันกันได้ และเป็นความรู้ที่ก่อให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน  
         2. Explicit Knowledge ความรู้ที่เป็นเหตุเป็นผล สามารถรวบรวมและถ่ายทอดออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้ เช่น หนังสือ คู่มือ เอกสาร และรายงานต่างๆ ซึ่งทำให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่าย

2)Hideo Yamazaki คือ

         ความรู้เป็นสารสนเทศที่ผ่านกระบวนการคิดเปรียบเทียบเชื่อมโยงกับความรู้อื่น จนเกิดเป็นความเข้าใจและนําไปใช้ประโยชน์ในการสรุปและตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ โดยไม่จํากัดช่วงเวลา

3)Davenpost and Prusak คือ

         ส่วนผสมของกรอบประสบการณ์ คุณค่า สารสนเทศ ที่เป็นสภาพแวดล้อมและกรอบการทํางานสําหรับการประเมิน และรวมกันของประสบการณ์และสารสนเทศใหม่

4)Peter Senge คือ

          องค์กรแห่งการเรียนรู้ คือ สถานที่ซึ่งทุกคนสามารถขยายศักยภาพของตนเองได้อย่างต่อเนื่อง สามารถสร้างผลงานตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ เป็นที่ซึ่งเกิดรูปแบบการคิดใหม่ ๆ หลากหลายมากมาย ที่ซึ่งแต่ละคนมีอิสระที่จะสร้างแรงบันดาลใจ และเป็นที่ซึ่งทุกคนต่างเรียนรู้วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน

5)Peter Drucker คือ

6)ประเวช วะสี คือ

          การจัดการให้มีการรับรู้จริง สร้างความรู้ สังเคราะห์ความรู้ให้เหมาะสมกับงาน นำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติงาน มีการเรียนรู้ในการปฏิบัติ มีการสร้างความรู้ในการปฏิบัติ มีการประเมิลผลการปฏิบัติ

7)วิจารณ์ พานิช คือ

          ตามความเข้าใจของผม ระบบการศึกษาโลกยึดแนวทางที่เรียกว่าการถ่ายทอดความรู้ สิ่งที่เรียกว่าความรู้นั้นเป็นก้อนๆ อยู่ในตำรา อยู่ในผู้รู้ หลังๆ อยู่ในอินเทอร์เน็ต ฉะนั้นการศึกษาจึงเป็นการเอาความรู้ส่วนนั้นถ่ายไปใส่ตัวบุคคล เด็กก็รับความรู้มาเป็นก้อนๆ ใส่เข้าไว้ในสมองตัวเอง

8)ประพนธ์ ผาสุขยึด คือ

          ผมคิดว่าระบบการศึกษาในปัจจุบันของเราคงจะเน้นอยู่ที่การเรียนรู้ในระดับแรก คือเป็นการรู้จำ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งได้แก่การเรียนรู้ตามตัวบทตามตัวหนังสือหรือ ตามคำสอน เป็นการเรียนแบบที่มุ่งเน้นการท่องจำให้พูดได้ เจื้อยแจ้วเป็นนกแก้วนกขุนทอง ครั้นเมื่อถึงเวลาสอบใครที่ตอบได้ใกล้เคียงกับที่อาจารย์สอนมากที่สุดก็จะเป็นผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด การศึกษาแบบ “รู้จำ” นี้ ผมได้นิยามให้ครอบคลุมกิจกรรมในส่วนของการฝึกฝนอันเป็นผลมาจากการฝึกอบรม(Training) อีกด้วย เพราะเห็นว่าการฝึกฝนส่วนใหญ่ก็มักจะเน้นการจดจำขั้นตอนต่างๆ ไว้ เป็นต้นว่า เมื่อลูกค้าเปิดประตูร้านเข้ามา จะต้องกล่าวอะไรกับลูกค้าเป็นการต้อนรับ เรียกได้ว่าต้องฝึกฝนจนจำมาเป็นอย่างดีจึงจะสามารถทำได้ถูกต้องตามขั้นตอนที่ได้รับการสอนมา ซึ่งการเรียนรู้ประเภทนี้ไม่ใช่ว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี การงานหลายๆอย่างก็ต้องอาศัยการรู้จำนี้ เพียงแต่เราต้องไม่ลืมว่ายังมีการเรียนรู้อีกสองระดับที่เราจะต้องให้ความสำคัญต่อไปอย่าหยุดการเรียนรู้อยู่เพียงแค่ระดับนี้

ฐานความรู้ (knowledge base : KB) คือ 

ความรู้ 2 ประเภท คือความรู้ในตัวคน (tacit knowledge) เป็นความรู้ที่มีคุณค่ามาก มีการทบทวนและปรับปรุงตลอดเวลาจากการเรียนรู้สวนความรู้ชัดแจ้ง (explicit knowledge) เป็นความรู้ที่แสดงออกเป็ นรูปธรรมในรูปแบบที่เหมาะสม เช่น ห้องสมุดออนไลน์ที่ให้บริการด้วยตนเองเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์บริการ หน่วยงาน หรือ หัวข้อเรื่องโดยเป็นข้อมูลที่มาจากผู้เชยวชาญในเรื่องนั้นๆ มีการรวบรวมคําถามที่พบบ่อยคําแนะนําในการแก้ปัญหารวมถึงรายละเอียดอื่นๆที่ต้องการรู้ (www.atlassian.com) 
Cr.http://www1.si.mahidol.ac.th

ข้อสรุปความแตกต่าง

ข้อมูล อาจจะยังนำไปใช้ประโยชน์โดยตรงไม่ได้
สารสนเทศ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใช้ในการตัดสินใจ ใช้ในการวางแผน เป็นต้นองค์ความรู้ คือ การจัดการความคิด หรือทฤษฎีต่างๆ ที่พบเห็นมาเป็นหมวดหมู่ และสามารถนำมาใช้งานในศาสตร์ต่างๆ



ระดับชั้นของความรู้



ประเภทของความรู้

1. ความรู้โดยนัยหรือความรู้ที่มองเห็นไม่ชัดเจน (Tacit Knowledge)
จัดเป็นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นทักษะหรือความรู้เฉพาะตัว ของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์ ความเชื่อหรือความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน เช่น การถ่ายทอดความรู้ ความคิด ผ่านการสังเกต การสนทนา การฝึกอบรม ความรู้ประเภทนี้เป็นหัวใจสำคัญที่ทำให้งานประสบความสำเร็จ เนื่องจากความรู้ประเภทนี้เกิดจากประสบการณ์ และการนำมาเล่าสู่กันฟัง ดังนั้น จึงไม่สามารถจัดให้เป็นระบบหรือหมวดหมู่ได้ และไม่สามารถเขียนเป็นกฎเกณฑ์หรือตำราได้ แต่สามารถถ่ายทอดและแบ่งปันความรู้ได้โดยการสังเกตและเลียนแบบ
2. ความรู้ที่ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เป็นทางการ (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ร่วมกันในรูปแบบต่างๆ เช่น สิ่งพิมพ์ เอกสารขององค์การ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์ อินทราเน็ต ความรู้ประเภทนี้เป็นความรู้ที่แสดงออกมาโดยใช้ระบบสัญลักษณ์ จึงสามารถสื่อสารและเผยแพร่ได้อย่างสะดวก


การจัดการความรู้มีประโยชน์ 8 ประการ ดังนี้

1. ป้องกันความรู้สูญหาย การจัดการความรู้ทำให้องค์การสามารถรักษาความเชี่ยวชาญ ความชำนาญ และความรู้ที่อาจสูญหายไปพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของบุคลากร เช่น การเกษียณอายุทำงาน หรือการลาออกจากงาน ฯลฯ
2. เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ โดยประเภท คุณภาพ และความสะดวกในการเข้าถึง ความรู้ เป็นปัจจัยของการเพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจ เนื่องจากผู้ที่มีหน้าที่ตัดสินใจต้องสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและมีคุณภาพ
3. ความสามารถในการปรับตัวและมีความยืดหยุ่น การทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีความเข้าใจในงานและวัตถุประสงค์ของงาน โดยไม่ต้องมีการควบคุม หรือมีการแทรกแซงมากนักจะทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดการพัฒนาจิตสำนึกในการทำงาน
4. ความได้เปรียบในการแข่งขันการจัดการความรู้ช่วยให้องค์การมีความเข้าใจลูกค้า แนวโน้มของการตลาดและการแข่งขัน ทำให้สามารถลดช่องว่างและเพิ่มโอกาสในการแข่งขันได้
5. การพัฒนาทรัพย์สิน เป็นการพัฒนาความสามารถขององค์การในการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ ได้แก่ สิทธิบัตร เครื่องหมายการค้า และลิขสิทธิ์ เป็นต้น
6. การยกระดับผลิตภัณฑ์ การนำการจัดการความรู้มาใช้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และบริการ ซึ่งจะเป็นการเพิ่มคุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อีกด้วย
7. การบริหารลูกค้า การศึกษาความสนใจและความต้องการของลูกค้าจะเป็นการสร้างความพึงพอใจ และเพิ่มยอดขายและสร้างรายได้ให้แก่องค์การ
8. การลงทุนทางทรัพยากรมนุษย์ การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันผ่านการเรียนรู้ร่วมกัน การจัดการด้านเอกสาร การจัดการกับความไม่เป็นทางการเพิ่มความสามารถให้แก่องค์การในการจังและฝึกฝนบุคลากร